วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

E-Advertsing


กลยุทธ์การตลาดเชิงรับ (Defensive marketing strategy)
     กลยุทธ์ในกลุ่มนี้มีไว้เพื่อป้องกัน Market Share, Mind Share, Brand Positioning และ Profitability จากการจู่โจมและช่วงชิงของคู่แข่ง  การตั้งรับที่ดีจะทำให้มี Superior Positioning ทันทีเมื่อเทียบกับคู่แข่งในทุกครั้ง หัวใจของการตั้งรับอยู่ที่ว่าเราต้องพยายามหาจุดอ่อนของเราอยู่ตลอดเวลาเพื่อสกัดให้ได้เมื่อถูกโจมตีหรือพยายามเปลี่ยนให้เป็นจุดแข็ง  เรียกว่าเป็นการทำ Weakness audit หลักการอื่น ๆ ก็คือต้องสอดส่องว่าคู่แข่งรายใดจ้องจะโจมตีเราบ้างและเมื่อใด  การจะใช้กลยุทธ์ให้ได้ผลดีก็ต่อเมื่อ Defenders มีการโต้ตอบที่สมน้ำสมเนื้อหรืออาจต้องหนักกว่าการโจมตีจากผู้คุกคาม  และต้องพยายามป้องกันทุก Strategic Markets ให้ได้
*********************************************************************************
กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก (Offensive marketing warfare strategies)
   กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีเป้าหมายเพื่อบรรลุเป้าประสงค์บางอย่าง โดยทั่วไปจะเป็นการชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากคู่แข่งที่เป็นเป้าหมาย นอกจากส่วนแบ่งการตลาดแล้ว กลยุทธ์การตลาดเชิงรุกยังมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ได้มาซึ่ง กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก, กลุ่มตลาดระดับบนและกลุ่มลูกค้าที่มีความภักดีสูง
ปัจจัยสำคัญ
ปัจจัยหลักของของกลยุทธ์มี 4 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. ประเมินจุดแข็งของคู่แข่งที่เป็นเป้าหมาย พิจารณาถึงความสนับสนุนที่จะได้จากพันธมิตรของคู่แข่ง อนึ่ง ควรเลือกเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียวในการจู่โจม
2. ค้นหาจุดอ่อนในตำแหน่งของคู่แข่ง โจมตีไปยังจุดนั้น ควรพิจารณาดูว่า การที่คู่แข่งเป้าหมายจะได้รับแรงสนับสนุนเพื่อกลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ได้เสียเปรียบอีกครั้งต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่
3. เปิดฉากโจมตีให้ลงไปในตำแหน่งที่จำเพาะเจาะจงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากธรรมชาติของผู้ตั้งรับจะต้องตั้งรับในทุกทิศทุกทางที่อาจจะถูกโจมตี จึงเป็นข้อได้เปรียบทางกลยุทธ์ของผู้โจมตีให้สามารถทุ่มเทกำลังไป ณ จุดๆเดียว
4. เปิดฉากการจู่โจมให้เร็ว พลังของการโจมตีแบบไม่คาดฝันให้ผลที่มากกว่าการโจมตีด้วยกำลังมหาศาลแต่เอิกเริก
 *********************************************************************************
กลยุทธ์ “ซ่อนเร้น” (“invisible” strategies)
                กลยุทธ์และยุทธวิธีต่าง ๆ ที่นักการตลาดเจาะตรงนำมาใช้ จะเป็นลักษณ์ซ่อนเร้นจำบังคู่แข่งขันมองไม่เห็น หรือหากจะมองเห็นอยู่บ้าง แต่ก็น้อยกว่ากลยุทธ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ปฏิบัติกันทางสื่อมวลชนมาก จากการใช้กลยุทธ์ที่ซ่อนเร้นดังกล่าว จะช่วยป้องกันมิให้คู่แข่งขันลอกเลียนแบบ หากการใช้แผมรณรงค์ทางการตลาดประสบผลสำเร็จ
********************************************************************************* 
กลยุทธ์สะสมแต้ม
   ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันนี้ นักการตลาดต้องมีการปรับแผนการตลาดเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดสูง ไม่ใช่แค่ทัดเทียม แต่ต้องให้เหนือกว่าบริษัทคู่แข่ง ไม่ใช่แค่หาลูกค้าใหม่ แต่ต้องรักษาความภักดีต่อตราสินค้าของลูกค้าไว้ให้เหนียวแน่น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องน่าท้าทายสำหรับนักการตลาด ให้แสวงหาเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าไม่ให้เปลี่ยนไปใช้สินค้าของคู่แข่ง “วิธีการสะสมแต้ม” เป็นแนวทางการตลาด อีกรูปแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้แพร่หลายรู้จัก Enterprise Currency Marketing (ECM)
 *********************************************************************************
กลยุทธ์การตลาด แบบปากต่อปาก
    Viral Marketing คืออะไร ในปัจจุบันต้องยอมรับว่า สื่อออนไลน์ หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า Social Network เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากพอสมควร ซึ่งก็เข้าทางการตลาดแบบ Viral ที่อาศัยการบอกต่อโดยใช้สื่อที่เรียกว่า Social Network นี้เองในการเป็นสื่อกลาง จะกล่าวได้ว่าการตลาดแบบ Viral นั่นคือ การที่ผู้ส่งสารได้ไปประสบพบเจอแล้วเกิดอยากบอกต่อหรือแชร์ให้กับคนอื่นทราบ
 *********************************************************************************
กลยุทธ์โฮมเพจ บริการโฮมเพจ
    จะให้พื้นที่ฟรีแก่ลูกค้า จำนวน 1 หน้า เพื่อโฆษณาสินค้าและบริการ พร้อมระบุรายละเอียดอื่นๆ อาทิ สถานที่ตั้ง และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อ เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถติดต่อได้ทันที โดยมีรูปแบบของหน้าโฮมเพจให้ลูกค้าเลือกถึง 5 รูปแบบด้วยกัน ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายหลักของบีโอแอลคือผู้ประกอบการต่างๆ โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจขนาดกลางที่ต้องการใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์ สามารถใช้บริการฟรีบนบีโอแอลเว็บไซต์ จึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีอีกทางเลือกหนึ่ง
 *********************************************************************************
กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด
    กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดจะบอกรายละเอียดว่าวัตถุประสงค์ทางการตลาดแต่ละอย่างนั้น เราจะใช้วิธีการอย่างไร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ในขณะที่วัตถุประสงค์ทางการตลาดที่เรากำหนดนั้นต้องมีความเฉพาะกำหนดขอบเขต ต่างๆ ชัดเจน และเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการซื้อของบริโภคนั้น กลยุทธ์การตลาดกลับมีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของแผนตลาด กำหนดการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้า (Product Positioning) กลยุทธ์การตลาดและยังจะใช้เป็นกรอบอ้างอิงในการพัฒนาโปรแกรมด้วยส่วนผสมการ ตลาด (Marketing Mix) อีกด้วย ธุรกิจสามารถกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ มากกว่า 1 กลยุทธ์ โดยพิจารณาจากหัวข้อต่างๆ

********************************************************************************* 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น