วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

กฎหมาย E-Commerce


กฎหมาย E-Commerce      
                 
 เตรียมพร้อมรับกฎหมาย “e” ก่อนที่คุณจะกลายเป็นผู้กระทำผิด 


     พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (18กรกฎาคม 2550)รู้ให้ทันและเข้าใจเพื่อปกป้องสิทธิของตนเองอย่างถูกต้อง กับบทความจากeWEEK ได้เคยนำเสนอข้อมูลและตีพิมพ์ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา

9พฤษภาคม ที่ผ่านมา นับเป็นวันแห่งการเปิดศักราชด้านการป้องกันการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบ “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” หลังจากที่รอคอยกันมานานถึง 9 ปีนับแต่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้จัดทำร่างกฎหมายด้านอิเล็กทรอนิกส์เมื่อปี 2541

พรบ.ดังกล่าวเป็นกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ฉบับที่สองของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ได้ออก พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้วเมื่อปี 2544 และมีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 3 เมษายน 2545 ซึ่งได้รวมเอาลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในฉบับดังกล่าวด้วย

ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อยู่ระหว่างรอลงพระปรมาภิไธย ก่อนที่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้หลังจากนั้น 30 วัน

สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ผู้อยู่ในคณะทำงานด้านกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์มาตลอด กล่าวกับ eWEEK เมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคมว่า “คาดว่าจะใช้เวลาราวๆ 90 วันนับจากนี้ที่จะได้ใช้กฎหมายดังกล่าวโดยกฎหมายมีเจตนารมณ์เพื่อกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษ รวมทั้งการกำหนดเกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมถึงหน้าที่ของผู้ให้บริการ”

“นับว่าเป็นร่างพรบ.ฉบับที่มีความสมบูรณ์มาก เพราะมีร่างประกาศออกมาพร้อมกันด้วย ซึ่งร่างประกาศจะเป็นส่วนสนับสนุนพรบ. เช่น จัดทำประกาศเกี่ยวกับผู้ให้บริการและข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จัดทำประกาศเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติพนักงานเจ้าหน้าที่ และจัดทำประกาศเกี่ยวกับบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเตรียมแผนสร้างความรับรู้ต่อสาธารณชนด้วย”

ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งยกระดับความมั่นคงของประเทศไทย ที่ให้เห็นถึงความพร้อมรับกับปัญหาหากเกิดภัยคุกคาม โดยประเด็นที่เป็นข้อห่วงใยของสังคมปรักอบด้วย 4 เรื่องหลักดังนี้

ประการแรก การทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นทางเทคนิคทั้งในลักษณะของการกระทำความผิดและลักษณะของการสืบสวนสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่ ประการที่สองการสร้างความสมดุลระหว่างการคุ้มครองสังคมและคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชน ประการที่สามการควบคุมการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้กฎหมายนั้นสามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดภาระกับผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบการมากเกินไป โดยมีจุดยืนสำคัญในการให้ความคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของประชาชน

ประการสุดท้าย ผลกระทบหรือความเสียหายจากการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ (เช่น การก่อการร้ายรูปแบบใหม่ๆ หรือ Cyber Terrosism) หรือเสถียรภาพทางการเงิน (ซึ่งในปัจจุบันมีมูลค่านับล้านล้านบาท หรือมีมูลค่าสูงขึ้นทุกขณะ) หรือกระทบต่อบริการสาธารณะ

   ดังนั้นผู้ให้บริการจึงจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมสารสนเทศยุคใหม่ที่แนวคิดเรื่อง “IT Governance”กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกัคอมพิเตอร์ในมาตรา 26เนื่องจากเมื่อเกิดเหตุการณ์การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้รักษากฏหมายหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องสืบสวน และ สอบสวนค้นหาหลักฐานซึ่งอยู่ในรูปแบบของไฟล์ที่เป็นดิจิตอลฟอร์แมต มีลักษณะการจัดเก็บปูมระบบ หรือ “Log  file” ที่ได้จากกิจกรรมต่างๆในระบบที่กฏหมายเรียกว่า “ข้อมูลจราจร” หรือ “Traffic Data” ซึ่งกฏหมายกำหนดให้เก็บเฉพาะ “เท่าที่จำเป็น” แปลว่า ไม่ต้องเก็บข้อมูลจราจรทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระบบ (เพราะเป็นไปไม่ได้ในทางปฎับัติ) เช่น ควรจัดเก็บเฉพาะ Source IP address, Destination IP address, Date, Time และ User Name (ถ้ามี) เพื่อที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถพิสูจน์หลักฐานด้วยวิธี “Computer Forensic” ได้ และสามารถสืบค้นย้อนหลังได้สูงสุดถึงหนึ่งปี ในกรณีที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีระยะเวลามากกว่า 90 วัน จึงเป็นที่มาของความจำเป็นซึ่งกลายเป็นความรับผิดชอบที่ทุกองค์กร โดยเฉพาะผู้ให้บริการต้องร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกฏหมายฉบับนี้


ข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ จัดทำขึ้นตามบทบัญญัติมาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔
หมวด ๑
บททั่วไป
                    ข้อ ๑ ข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔
                    ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาใช้บังคับ
                    ข้อ  ๓ ในข้อบังคับนี้
                   “เครื่องหมายรับรอง” หมายถึง เครื่องหมายที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดขึ้นท้ายข้อบังคับนี้ เพื่อรับรองว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
                   “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์แล้ว
                   “การประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” หมายถึง การประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้
(๑) การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(๒) การบริการอินเทอร์เน็ต
(๓) การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
(๔)การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือ  ข่ายอินเทอร์เน็ต
(๕) การทำธุรกรรมโดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น  ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนด
“กรม” หมายถึง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

หมวด ๒
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
                    ข้อ ๔ ผู้ประกอบธุรกิจทุกรายที่แสดงความประสงค์ขอใช้เครื่องหมายรับรองจะได้รับอนุญาตจากกรมให้ใช้เครื่องหมายรับรองตลอดระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                    การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง กรมจะส่งรหัสเครื่องหมายรับรอง(Source Code)ให้ผู้ประกอบธุรกิจทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ไปยังที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) ที่ระบุในการจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อขอรับรหัสเครื่องหมายรับรอง
                    ข้อ ๕ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง ต้องแสดงเครื่องหมายรับรองไว้บนหน้าแรกของเว็บไซต์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อผู้ประกอบธุรกิจ ชื่อทางการค้า (ถ้ามี) ชื่อเว็บไซต์ เลขทะเบียนพาณิชย์ ที่ตั้งของสถานประกอบการ หรือที่ตั้งของตัวแทนหรือบุคคลที่สามารถติดต่อได้ วิธีการติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(E-mail)  และเวลาทำการ
                    ในกรณีมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ต้องเปิดเผยตามวรรคหนึ่ง  ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองต้องปรับปรุงข้อมูลให้ตรงต่อความเป็นจริงอยู่เสมอ
                    ข้อ ๖ ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองต้องยินยอม อำนวยความสะดวก และให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ของกรมเข้าทำการตรวจสอบกำกับดูแลการใช้เครื่องหมายรับรองตามข้อบังคับนี้
หมวด ๓
การพัก และเพิกถอนการใช้เครื่องหมายรับรอง
                    ข้อ ๗ กรมมีอำนาจสั่งพักใช้เครื่องหมายรับรองในกรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองไม่ปฏิบัติตาม ข้อ ๕
                    ให้ผู้ถูกสั่งพักใช้เครื่องหมายรับรองดำเนินการเปิดเผยข้อมูลให้ตรงต่อความเป็นจริง และแจ้งกรมภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ถูกสั่งพัก
                    เมื่อกรมได้รับแจ้งตามวรรคสองและได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ถูกสั่งพักได้เปิดเผยข้อมูลให้ตรงต่อความเป็นจริงแล้ว ให้ผู้ถูกสั่งพักสามารถใช้เครื่องหมายรับรองได้ต่อไป แต่ถ้าผู้ถูกสั่งพักไม่ดำเนินการ ดังกล่าว ภายในระยะเวลาที่กำหนดกรมมีอำนาจที่จะเพิกถอนการใช้เครื่องหมายรับรองได้
                    ข้อ ๘ กรมมีอำนาจเพิกถอนการใช้เครื่องหมายรับรอง ในกรณีดังต่อไปนี้้
                    (๑) มีพฤติกรรมในการประกอบธุรกิจที่ขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือความมั่นคงของประเทศ หรือไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือ
                    (๒) นำเครื่องหมายรับรองไปใช้ในลักษณะที่ผิดวัตถุประสงค์อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับกรมซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายรับรอง หรือ
                    (๓) ไม่ยินยอม หรือไม่อำนวยความสะดวก หรือไม่ให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ของกรมตาม     ข้อ ๖ หรือ
                    (๔) ถูกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
                    (๕) เพิกถอนตาม ข้อ ๗ วรรคสาม
                    ข้อ ๙  ผู้ถูกสั่งพักหรือเพิกถอนการใช้เครื่องหมายรับรอง ต้องเลิกใช้เครื่องหมายรับรองในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทันที
                      ในกรณีผู้ถูกสั่งพัก หรือเพิกถอนการใช้เครื่องหมายรับรองใดฝ่าฝืนใช้เครื่องหมายรับรองต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กรมในอัตราวันละห้าพันบาทจนกว่าจะเลิกใช้


ที่มา :: http://www.b2ccreation.com/content/knowledgebase/kb_view.asp?kbid=22