วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ระบบชำระเงินของประเทศไทย

ระบบชำระเงินของประเทศไทย

1.การเปรียบเทียบระหว่างการชำระเงินต่อไปนี้

บัตรเครดิต // บัตรเดบิท
บัตรเครดิต (Credit Card) ชื่อบัตรก็บ่งบอกแล้วว่าต้องเป็นผู้ที่มีเครดิตจึงจะสามารถมีบัตรได้ บัตรเครดิต มีไว้เพื่อทำให้ชีวิตง่ายขึ้นในการจับจ่ายใช้สอย ทำให้ไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากเวลาใช้จ่าย ผู้ที่ใช้อาจไม่มีเงินสดในบัญชีขณะใช้บัตรเลยก็ได้ เปรียบเสมือนผู้มีเครดิตสามารถซื้อของที่ต้องการก่อน และชำระเงินในภายหลังเมื่อครบกำหนด

บัตรเดบิท มีความแตกต่างจากบัตรเครดิตอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ คุณต้องมีเงินในบัญชีธนาคารจึงจะสามารถใช้จ่ายได้ สำหรับการใช้จ่ายสามารถนำบัตรเดบิตไปรูดซื้อสินค้าได้เหมือนบัตรเครดิต เพียงแต่ไม่ได้รับเครดิตใดๆ นั่นก็หมายความว่า หากคุณนำบัตรเดบิตไปซื้อสินค้าจำนวน 1,000 บาท คุณต้องมีเงินในบัญชีไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทนั่นเอง บัตรเดบิตช่วยให้คุณมีความสะดวกสบายในการซื้อสินค้า เพราะไม่ต้องเบิกถอนเงินสดไปชำระ
*********************************************************************************
BAHTNET // Media Clearing

ระบบโอนเงินรายใหญ่ (BAHTNET) เป็นเครือข่ายอีเล็กทรอนิกส์ระหว่างสถาบันการเงินที่สร้างขึ้นโดย ธปท.สามารถส่งผ่านข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก โดยเน้นธุรกรรมขนาดใหญ่ผ่านเครือข่าย VPNที่เชื่อมอยู่กับ Terminalที่เคาน์เตอร์ของธ.พาณิชย์ โดยเป็นวิธีชำระเงินแบบมีผลทันที (Real Time Gross Settlement ; RTGS)

ระบบโอนเงินรายย่อย (Media Clearing) ให้บริการเช่นเดียวกับระบบBAHTNET แต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญ คือ
1. ระบบ Media Clearing เป็นระบบชำระเงินรายย่อยซึ่งมีมูลค่าไม่เกิน 500,000 บาท
2. ระบบนี้ไม่มีการโอนเงินแบบมีผลทันที แต่จะรวบรวมธุรกรรมไว้จนถึง สิ้นวันจึงมีการส่งข้อมูลเข้าทำการชำระบัญชีระหว่างธนาคาร ซึ่งฝากไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
*********************************************************************************

SWIFT // Western Union
SWIFT 
*ระบบโอนเงินระหว่างประเทศ SWIFT
(Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication ; SWIFT)

* เป็นคำสั่งโอนเงินผ่านเครือข่ายสากลที่เรียกว่า SWIFT ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มสถาบันการเงินเพื่อสร้างเครือข่ายการรับส่งข้อมูลทางการเงิน

* โดยปกติธนาคารพาณิชย์ไทย มักเปิดบัญชีกับธนาคารในต่างประเทศอยู่แล้ว เรียกว่า VOSTRO ส่วนใหญ่ VOSTRO คือ ธนาคารซิตี้แบงก์ใน NewYork เพราะกว้างขวาง ครอบคลุมทั่วโลก

 Western Union

* ระบบโอนเงินระหว่างประเทศ SWIFT(Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication ; SWIFT)

* เป็นคำสั่งโอนเงินผ่านเครือข่ายสากลที่เรียกว่า SWIFT ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มสถาบันการเงินเพื่อสร้างเครือข่ายการรับส่งข้อมูลทางการเงิน

* โดยปกติธนาคารพาณิชย์ไทย มักเปิดบัญชีกับธนาคารในต่างประเทศอยู่แล้ว เรียกว่า VOSTRO ส่วนใหญ่ VOSTRO คือ ธนาคารซิตี้แบงก์ใน NewYork เพราะกว้างขวาง ครอบคลุมทั่วโลก
*********************************************************************************
อธิบายช่องโหว่ของการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต พร้อมเสนอแนวทางการป้องกันปัญหา 
ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของท่านเองว่า ท่านสามารถควบคุมการใช้บัตรของท่านได้ถูกวิธีหรือไม่ หากท่านมีการใช้วงเงินเกิน การชำระคืนของท่านการมีบัตรเครดิตก็เป็นดาบ 2คมเช่นกัน ดังนั้นเมื่อท่านมีบัตรเครดิต ท่านควรมีวิธีการบริหารการใช้จ่ายอย่างถูกวิธี เพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริหารการเงินของตัวท่านเอง
::แนวทางการป้องกัน::
ควรใช้เมื่อไรดี
1. สาธารณูปโภค สะดวกต่อการจ่ายเงิน
2. น้ำมัน จ่ายบัตรถูกกว่า เพราะบ้างบัตรมีส่วนลด 2 % แถมน้ำอีกต่างหาก
3. สินค้า/บริการ ราคาแพง เช่น พวกประกันชีวิต
4. ซื้อของผ่านเว็บ สะดวกและปลอดภัย (เฉพาะบ้างบัตรที่เราปฏิเสธ ความรับผิดชอบได้)

สิ่งที่ไม่ควรทำ
1.ใช้บัตรเครดิตกดเงินสด  ถ้าหากไม่จำเป็นจริง ไม่ควรทำ เพราะเสียดอกแพงมาก ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมอีกมากมาย
2. บัตรเครดิดโปะบัตรเครดิตอื่น ถ้าหากทำอย่างนี้ ชิวิตก็จะวนไปเรื่อยจ่ายค่าบัตรไม่มีที่สิ้นสุด
บัตรเครดิตก็เหมือนไฟฟ้า เป็นนว้ตกรรมทางที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ชีวิตสะดวกขึ้น มีทั้งคุณและโทษขึ้นอยู่กับเราว่าจะใช้อย่างไร
*********************************************************************************
:: รายชื่อผู้ให้บริการ eBPP ทั่วโลก มาให้มากที่สุด
-ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (Small and Medium Enterprise Development Bank of Thailand)
-ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives)
-ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Export-Import Bank of Thailand)
-ธนาคารออมสิน (Government Saving Bank)
-ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (Government Housing Bank)
-ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (Islamic Bank of Thailand)
-ธนาคารกรุงไทย (Krung Thai Bank) - รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง
-ธนาคารทหารไทย (TMB Bank) - กลุ่มกองทัพไทย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
-ธนาคารกรุงเทพ (Bangkok Bank)
-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Bank of Ayudhaya)
-ธนาคารกสิกรไทย (KasikornBank)
-ธนาคารกรุงไทย (Krungthai Bank)
*********************************************************************************
2.นักศึกษาคิดว่าปัจจุบันการเข้ามาของเทคโนโลยี E-COMMERCEมีผลกระทบต่อนักศึกษาอย่างไร และคิดว่ามีผลดีผลเสีย หรือไม่อย่างไร
ไม่มีผลกระทบการดำเนินการธุรกิจการซื้อหรือการขายสินค้าบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนตโดยที่ผู้ซื้อสามารถทำธุรกรรมทั้งหมดได้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการเลือกชมสินค้าซื้อสินค้า คำนวนเงินที่ต้องชำระ ชำระเงินได้ทั้งผ่านบัตรเครดิต โอนเงิน ได้โดยอัตโนมัติ และในส่วนของผู้ขายเองก็สามารถนำเสนอสินค้า ประชาสัมพันธ์ จัดโปรโมชัน ตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้า รับการชำระเงิน จัดการกับสินค้าได้ทั้งหมดเหมือนกับมีร้านค้าจริงๆ ในความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม ลด แก้ไข รายการสินค้าภายในร้าน รวมถึงการประสานงานไปยังผู้จัดส่งสินค้า โดยอัตโนมัต ซึ่งกระบวนการทั้งหมดที่ได้กล่าวมาสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ต้องเดินทางไปพบกัน
ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce
ข้อดี
1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ
ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

*********************************************************************************
3. E-COMMERCE สามารถสร้างกลยุทธ์ในการแข่งขันกับคู่แข่งทางการค้าได้หรือไม่อย่างไร
สามารถทำได้โดยกลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ซึ่งเป็นส่วนผสมทางการตลาด(MarketingMix)หรือที่เรียกสั้นๆว่า 8P’sซึ่งต้องมีแนวทางความคิดทางการสื่อสารการตลาด(IMC)โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคแบบสมัยใหม่ซึ่งแบ่งส่วนขยายเพิ่มเติมจากเดิมอีกหลายส่วนทั้งงานศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศเชื่อมโยงสู่การทำธุรกิจสมัยใหม่ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรสูงสุดบนความพอใจของผู้บริโภคซึ่งเป็นการทำธุรกิจระยะยาว(Long-TermBusiness)พร้อมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคสมัยใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปอย่างมากโดยเฉพาะการแบ่งส่วนการตลาด(Segmentation)

*********************************************************************************



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น